วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบำศรีวิชัย


วิดีโอ YouTube

ระบำศรีวิชัย
 



        ระบำศรีวิชัย เป็นระบำโบราณคดี เกิดขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ.2509 โดยได้รับแจ้งจากคุณประสงค์ บุญเจิม เอกอัครราชฑูตไทยประจำกรุงกัวลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียว่า  นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ต้องการได้นาฎศิลป์จากประเทศไทย ไปถ่ายภาพยนตร์เรื่อง  Raja basiyong ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ท่านตนกูแต่งขึ้น ขึ้นขอให้กรมศิลปากรจัดชุดการแสดงให้ 2 ชุด คือ รำซัดชาตรี ระบำศรีวิชัย สำหรับระบำศรีวิชัยเป็นระบำค้นคว้าขึ้นใหม่ โดยหาแบบอย่างเครื่องดนตรี เช่น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า จากภาพจำหลักจากพระสถูปบุโรพุทโธ บนเกาะชวา และมอบให้ศาสตาจารย์มนตรี ตราโมทย์ เลือกเครื่องดนตรีที่มีลักษณะใกล้เคียงกันบ้าง นำมาผสมผสานปรับปรุงจนเป็นจังหวะระบำศรีวิชัย
   ท่ารำระบำศรีวิชัยประดิษฐ์ขึ้นจากภาพจำหลักและภาพปูนปั้นสมัยศรีวิชัย ประสมท่ารำชวาและบาหลี สอดแทรกลีลานาฎศิลป์
   เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพลงระบำศรีวิชัย
   1.เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่ คือพิณ 4 สายชนิดหนึ่ง
   2.เครื่องดนตรีประเภทเครืองสี  ได้แก่ ซอ 3 สาย
   3.เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี  ได้แก่ ตะโพน กลองแขก ฆ้อง 3 ลูก ฉิ่ง กรับ ฉาบ
   4.เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ย
          เครื่องแต่งกาย
   1.เสื้อตัวใน
   2.ผ้านุ่ง
   3.ผ้าคาดรอบสะเอว
   4.เข็มขัด ต่างหู สร้อยคอ 
   5.สร้อยสะโพกด
       6.กำไลข้อแขน,มือ,เท้า
   7.กระบังหน้า
   8.ปิ่นปักผม





ระบำม้า


ระบำม้า

ระบำม้า 

      การแสดงชุดรถเสนจับม้า อยู่ในละครเรื่องรถเสน ซึ่งกล่าวถึง รถเสนเป็นโอรสของท้าวรถสิทธิ์ กับนางสิบสองคนสุดท้อง คือนางเภา ท้าวรถสิทธิ์ได้นางยักษ์สันธีเป็นชายา จึงจับนางสิบสองไปขังไว้ในอุมงค์มืด แล้วควักลูกตา ต่อมารถเสนตีไก่ชนะราชทูตต่างเมืองท้าวรถสิทธิ์จึงโปรดปราน นางสันธีอิจฉาจึงแสร้งทำป่วยไข้แล้วออกอุบายให้รถเสนไปนำมะม่วงหาวมะนาวโห่ ที่เมืองคชบุรีมารักษา รถเสนจึงทูลลาออกไปจับม้าเพื่อเดินทางต่อไป
การแสดงชุดนี้    
ความงดงามในศิลปะอยู่ที่กระบวนลีลาท่ารำอันสง่างามของผู้แสดงเป็นรถเสนและผู้แสดงที่เลียนแบบอริยาบถของม้า จัดเป็นการแสดงที่น่าชมอีกชุดหนึ่ง

      โอกาสที่ใช้แสดง- งานมงคลต่างๆ
- งานต้อนรับชาวต่างชาติ

-งานอีเว้นต์

ระบำดอกบัว



ระบำดอกบัว

      ระบำดอกบัว เป็นการแสดงชุดหนึ่งจากละครเรื่อง "รถเสน" ตอนหมู่นางรำ แสดงถวายท้าววรถสิทธิ์ ซึ่งกรมศิลปากรได้ปรับปรุงขึ้น แสดงให้ประชาชนชมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ผู้ประพันธ์บทร้องคือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ใช้ทำนองเพลงสร้อยโอ้ลาวของเก่า เป็นการแสดงหมู่

      การแต่งกาย นุ่งจีบหน้านางห่มสไบเฉียง ใส่เครื่องประดับ หรือนุ่งจีบหน้านางห่มสไบเฉียงสองชาย ใส่เครื่องประดับ

       อุปกรณ์ ดอกบัวประดิษฐ์


         ชุด การแต่งกาย







       เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าไม้นวม หรือไม้แข็งก็ได้

เหล่าข้าคณาระบำ ร้องรำกันด้วยเริงร่า
ฟ้อนส่ายให้พิศโสภา เป็นทีท่าเยื้องยาตรนาดกราย
ด้วยจิตจงรักภักดี มิมีจะเหนื่อยแหนงหน่าย
ขอมอบชีวิตและกาย ไว้ใต้เบื้องพระบาทยุคล
เพื่อทรงเกษมสราญ และชื่นบานพระกมล
ถวายฝ่ายฟ้อนอุบล ล้วนวิจิตรพิศอำไพ
อันปทุมยอดผกา ทัศนาก็วิไล
งามตระการบานหทัย หอมจรุงฟุ้งขจร
ล้ายจะยวนเย้าภมร บินวะว่อนฟอนสุคันธ์ 


ระบำดาวดึงส์

GraphicKorea44.gifระบำดาวดึงส์GraphicKorea44.gif

GraphicFlower37.gifระบำดาวดึงส์เป็นระบำมาตรฐานที่สร้างสรรค์รูปแบบท่ารำใหม่ แตกต่างจากระบำมาตรฐานแบบดั้งเดิม เช่น ระบำสี่บทที่ท่ารำตีบทความหมายของคำร้องระบำดาวดึงส์เป็นระบำประกอบในการแสดงละครดึกดำบรรพ์เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี ซึ่งจัดแสดงที่โรงละครดึกดำบรรพ์ วังบ้านหม้อ ปลายสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
GraphicFlower33.gif บทร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พรรณนาถึงความงดงามโอฬารของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และทิพยสมบัติของพระอินทร์ หม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา ได้ปรับปรุงท่ารำเลียนแบบท่าเต้นในพิธีแขกเจ้าเซ็น ซึ่งเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีทรงประดิษฐ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

GraphicFlower35.gif ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุดนี้ ใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ซึ่งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงปรับปรุงแตกต่างจากวงปี่พาทย์เครื่องคู่และเครื่องใหญ่ คือ ลดเครื่องดนตรีบางชิ้นให้มีเสียงทุ้มนุ่มนวล ไม่แกร่งกร้าวเสียงแหลมสูง เครื่องบรรเลง ได้แก่ ระนาดเอกตีด้วยไม้นวม ระนามทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ ตะโพน กลองตะโพนคู่ ( ถอดเท้าตั้งขึ้นตีแทนกลองทัด ) ฉิ่ง ฆ้องหุ่ยเจ็ดลูก (๗ เสียงเรียงลำดับ) กลองแขก ทำนองเพลงประกอบลีลาท่ารำ คือ เพลงเหาะ เพลงตะเขิ่ง เพลงเจ้าเซ็น เพลงรัว 

GraphicFlower36.gif ในส่วนของการแต่งกาย ตัวพระเทพบุตร แต่งกายยืนเครื่องเต็มตัว นุ่งผ้ายกตีปีกจีบโจงไว้หางหงส์ทับบนสนับเพลาเชิงงอน สวมเสื้อรัดรูปปักดิ้นเลื่อมลายกนกแขนสั้นเหนือศอก ติดกนกปลายแขน สวมเครื่องประดับถนิมพิมพาภรณ์ครบชุด ศิราภรณ์ชฎายอดชัย ตัวนางอัปสร แต่งกายยืนเครื่องนางเต็มตัว นุ่งผ้ายกจีบหน้านางทิ้งชายพก สวมเสื้อในนางรัดรูป ห่มผ้าห่มนางเต็มผืนปักดิ้นเลื่อมลายกนก สวมเครื่องประดับถนิมพิมพาภรณ์ครบชุด ศิราภรณ์มงกุฎกษัตริย์ ลีลาท่ารำจะผสมผสานนาฏศิลป์ไทยกับท่าเต้นทุบอกในพิธีแขกเจ้าเซ็น ท่ารำเข้าคู่พระ - นาง ในรูปแบบรำหมู่ เพลงเหาะ รัว ใช้แม่ท่านาฏศิลป์ไทย ต่อจากนั้นเป็นการผสมผสานท่ารำไทยกับท่าเต้นในพิธีเจ้าเซ็น ซึ่งดูสง่างาม การแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ ๘ นาที
l13.gif

บทร้อง
ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร เป็นที่อยู่สำราญฤทัยหรรษ์
สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน สารพันอุดมสมใจปอง

เทพบุตรผุดพรรณโฉมยง งามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง

นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง งามทรงเครื่องทองและเพชรนิล


สมเด็จพระอัมรินทร์ปิ่นมงกุฎ ทรงวชิราวุธธนูศิลป์

รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา (ซ้ำ)

อันอินทรปราสาททั้งสาม (ซ้ำ) ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา

สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา ใบระกาแกมแก้วประกอบกัน

ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉื่อยชด (ซ้ำ) บราลีที่ลดมุขกระสัน (ซ้ำ)

มุขเด็ดทองคาดกนกพัน บุษบกสุวรรณชามพูนุท (ซ้ำ)

ราชยานเวชยันตร์รถแก้ว (ซ้ำ) เพริศแพร้วกำกงอลงกต (ซ้ำ)

แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด (ซ้ำ) เครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย

รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย (ซ้ำ)

ดุมพราววาววับประดับพลอย แปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง

เทียมด้วยสิงธพเทพบุตร ทั้งสี่บริสุทธิ์ดั่งสีสังข์

มาตลีอาจขี่ขับประดัง ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา


l52.gif

ระบำเทพบันเทิง


ระบำเทพบันเทิง
ชื่อ ระบำเทพบันเทิง

ประเภทการแสดง ระบำ

     ประวัติที่มา ระบำเทพบันเทิง เป็นระบำที่นายมนตรี ตราโมท สิลปินแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญดุริยางคศิลป์ไทย กรมศิลปากร ประพันธ์บทร้อง และบรรจุทำนองเพลง ประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอนลมหอบ กล่างถึงองค์ปะตาระกาหลา ผู้ซึ่งเป็นบรมราชอัยการของอิเหนา และบุษบา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ได้เสด็จไปอุบัติเป็นเทพราชาสถิตย์อยู่ ณ วิมาณเมฆ บนสวรรค์ มีเทพบุตร และเทพอัปสรฟ้อนรำนี้ต่อมาเรียกว่า ระบำเทพบันเทิง กรมศิลปากรจัดการแสดงให้ประชาชน ณ โรงละครศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปกรมศิลปากร นางมัลลี คงประภัศร์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมครูต่วน)

      รูปแบบ และลักษณะการแสดง ระบำเทพบันเทิง เป็นระบำหมู่ของเทวดา นางฟ้า ที่มีลักษณะท่ารำเป็นการรำตีบทตามบทร้อง เพื่อถวายแด่องค์ปะตาระกาหลา ซึ่งเป็นการรำที่มีความงดงามในลักษณะของการรำคู่ รวมทั้งการใช้ท่าเกี้ยวพาราสีระหว่างพระ และนาง มีการแปรแถวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แถวปากพนัง แถววงกลม และแถวเฉียง เป็นต้น

การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้

      ขั้นตอนที่ ๑ รำออกตามทำนองเพลงแขกเชิญเจ้า

      ขั้นตอนที่ ๒ รำตีบทความหมายของบทร้อง

      ขั้นตอนที่ ๓ รำเข้าตามทำนองเพลงยะวาเร็ว

      ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงแขกเชิญเจ้า และเพลงยะวาเร็ว    
   
      เครื่องแต่งกาย
ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง พระสวมเสื้อแขนสั้น ศิราภรณ์ชฎายอดชัย นางศิราภารณ์มงกุฏกษัตรีย์



 
  
 บทร้องระบำเทพบันเทิง
- ปี่พาทย์ทำเพลงส่วนนำของเพลงแขกเชิญเจ้า -
- ร้องเพลงแขกเชิญเจ้า -

เหล่าข้อพระบาท
ขอฟ้อนกราย
บำเรอปิ่นอมร
ผู้ทรงพระคุณ
เพื่อเทวบดี
เถลิงเทพสีมา ขอวโรกาส เทวฤทธิ์อดิศร
รำร่ายถวายกร
ปะตาระกาหลา
ยิ่งบุญบารมี
สุขสมรมยา
พิมามสำราญฤทัย

- สร้อย -

สรุศักดิ์ประสิทธิ์
ทรงสราญพระกาย
ถวายอินทรีย์
ถวายดวงตา
ถ้อยคำอำไพ
ถวายดวงจิต
ที่ทรงการุณย์
ถวายชีวัน สุรฤทธิ์กำจาย
ทรงสบายพระทัย
ต่างมาลีบูชา
ต่างประทีปจำรัสไข
ต่างธูปหอมจุณจันทน์
อัญชลิตวรคุณ
ผองเข้ามาแต่บรรพ์
รองบาทจนบรรลัย

- สร้อย -
- ร้องเพลงยะวาเร็ว - 
ร่วมกันร้องทำนองลำนำ (ซ้ำ) มาฟ้อนมารำให้รื่นเริงใจ (ซ้ำ) ให้พร้อมให้ เพรียงเรียงระดับ เปลี่ยนสับท่วงทีหนีไล่

เวียนไป
อัปสรฟ้อนส่าย
ฝ่ายฝูงเทวดา
เข้าทอดสนิท
ผูกพัน ผูกพัน สุขเกษม ได้จังหวะกัน
กรีดกรายออกมา
ทำท่ากางกั้น (ซ้ำ)
ไม่บิดไม่ผัน (ซ้ำ)
ปลื้มเปรม ปลื้มเปรม ปรีดา

- ปีพาทย์ทำเพลงยะวาเร็ว -